วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

Application

แอปพลิเคชัน (Application)
โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ หรือเรียกโดยทับศัพท์ว่า เว็บแอปพลิเคชัน (อังกฤษ: web application) คือโปรแกรมประยุกต์ที่เข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตเว็บแอปพลิเคชันเป็นที่นิยม เนื่องจากความสามารถในการอัปเดต และดูแล โดยไม่ต้องแจกจ่าย และติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องผู้ใช้ ตัวอย่างเว็บแอปพลิเคชันได้แก่ เว็บเมล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประมูลออนไลน์ กระดานสนทนา บล็อก วิกิ เป็นต้น

Anti-Virus

ไวรัส (Anti-Virus) ไวรัส คือ โปรแกรมชนิดหนึ่ง ทีถูกสร้างขึ้นโดย มีวัตถุ ประสงค์เพื่อการก่อกวน ทำให้เกิด ความ เสียหาย เช่น ทำลายข้อมูล ไม่สามารถเปิดใช้ งานคอมพิวเตอร์ หรืออาจทำให้คอมพิวเตอร์ ทำงานช้าลง ปัจจุบันการใช้งานอีเมล์เป็นที่แพร่หลายมาก ทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดี สร้างไวรัสผ่านมาทางอีเมล์ เป็นต้น



ประเภทของไวรัส
1.แบ่งตามแหล่งที่ซ่อน
- ไวรัสบูตเซ็กเตอร์
- ไวรัสติดที่ตารางพาร์ทิชั่น

- ไวรัสที่ติดแฟ้ม
2.แบ่งตามลักษณะการทำงาน
- ไวรัสประเภทก่อกวน
- ไวรัสประเภททำลาย

ทั้งนี้การแบ่งประเภทไวรัสของแต่ละคน อาจมีการแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย สำหรับตัวอย่างรายชื่อไวรัสว่ามีอะไรบ้าง เราจะสามารถดูได้จากในตัวโปรแกรมแอนตี้ไวรัสเอง เช่น Mcafee VirusScan, Norton Anti-Virus, PC-Cillin, Dr. Solomon Anti-Virus, F-Prot Anti-Virus, Panda Anti-Virus ดูในหัวข้อ Virus List

ระบบปฏิบัติการ หรือ (OS)

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS)


เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปบางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจาก ฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลใน ระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้ หน่วยประมวลผลกลางในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น

Software

Software หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำ งาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่อง คอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น


1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน


2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัว พัฒนา

2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานมราขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียน โปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่าง ยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น 

Microsoft Windows

Microsoft Windows (ไมโครซอฟท์ วินโดวส์)

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ (อังกฤษ: Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก

แมคโอเอส (Mac OS) แมคโอเอสเท็น เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดในตระกูลแมคโอเอสสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2001 ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ แกนกลาง ดาร์วิน (Darwin) ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมการทำงานแบบยูนิกซ์ที่เป็นโอเพนซอร์ส และส่วนติดต่อผู้ใช้แบบอควา (Aqua) ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของแอปเปิล คอมพิวเตอร์เอง แอปเปิลยังได้สร้างแมคโอเอสเท็นรุ่นปรับปรุง เพื่อนำไปใช้ในอุปกรณ์ของแอปเปิล 4 ตัวได้แก่ แอปเปิลทีวี ไอโฟน ไอพอดทัช และไอแพด โดยที่ไอโฟน ไอพอดทัช และไอแพดนั้นจะใช้รุ่นของแมคโอเอสที่เรียกว่า IOS ซึ่งระบบปฏิบัติการที่แก้ไขนี้จะมีแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ไดรเวอร์ และส่วนประกอบอื่นที่ไม่จำเป็นจะถูกนำออกไป



ลินุกซ์ (Linux)

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เช่น อุบุนตู

OS Utility

OS Utility Programs
ตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่ทำงานด้านต่างๆ

1. ประเภทการจัดการไฟล์ (File Manager)มีหน้าที่หลักในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ต่างๆเช่น การคัดลอก การเปลี่ยนชื่อ การลบและการย้ายไฟล์ เป็นต้น

2. ประเภทการลบทิ้งโปรแกรม (Uninstaller)ลบหรือกำจัดโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้ออกไปจากระบบ

3. ประเภทการสแกนดิสก์ (Disk Scanner)สแกนหาข้อผิดพลาดต่างๆพร้อมทั้งหาทางแก้ปัญหาในดิสก์

4. ประเภทการจัดเรียงพื้นที่เก็บข้อมูล (Disk Defragmenter)ช่วยในการจัดเรียงไฟล์ข้อมูลให้เป็นระเบียบ และเป็นกลุ่มเป็นก้อน

5. ประเภทรักษาหน้าจอ (Screen Saver)ช่วยถนอมอายุการใช้งานของจอคอมพิวเตอร์ให้ยาวนานมากขึ้นใช้ภาพเคลื่อนไหวไปมา และเลือกลวดลายหรือภาพได้ด้วยตนเองตั้งค่ารหัสผ่านของโปรแกรมรักษาหน้าจอเอาไว้ได้

การ Ghost เบื้องต้น

การ Ghost 
Ghost คือ อะไร สำหรับมือใหม่หลายคนอาจจะไม่รูจักหรือไม่เคยเห็น แต่ถ้าสำหรับช่างคอมพิวเตอร์แล้วโปรแกรมตัวนี้ถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีมากเลยทีเดียว ประโยชน์ของโปรแกรมตัวนี้ มีมากครับ สามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้
  • ใช้ backup OS ได้
  • ใช้ copy OS ไปได้หลายๆเครื่อง(ไม่ต้องมานั่งลงWindowsหลายๆเครื่อง)
  • ใช้ copy เฉพาะ Partition ตามที่เราต้องการ
  • ใช้ backup OS ผ่านระบบ LAN (ไม่ใช่ตัวที่อยู่ใน Hiren's Boot CD)
    ประโยชน์ของโปรแกรมตัวนี้จะเห็นว่าดีมากเลยครับ แต่ก็มีข้อเสียเหมือนกันนะครับ โดยเฉพาะถ้าเจอช่างที่มักง่าย อะไรๆก็จะGhostอย่างเดียว เพราะบางทีถ้าGhostแล้วโปรแกรมบางตัวจะใช้ไม่ค่อยได้ ติดตั้งโปรแกรมลงไปแล้วไม่ทำงาน อันนี้เคยเจอครับ ต้องลง Windows สถานเดียว
    แต่วิธีที่ผมนำมาสอนนี้ถือว่าเป็นการ Ghost ที่ดีที่สุดแล้วนะครับ เวลาเราโดน virus เล่นงานหรือจะเสียโดยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ เราก็สามารถนำ Windows ตัวเก่ากลับมาใช้ได้โดยใช้โปรแกรม Ghost นี้
    
    เริ่มต้นใช้โปรแกรม Ghost
  1. การทำ Ghost ที่ดีที่สุด คือ การลง Windows เสร็จใหม่ๆ แล้วติดตั้งโปรแกรมต่างๆให้เรียบร้อย แล้วจึงทำการ Ghost นะครับ
  2. หาพื้นที่ที่จะเก็บตัว Ghost ในที่นี้ผมจะเอาไปเก็บที่ Drive H: ซึ่งผมตั้งชื่อDriveไว้ว่า Backup (ต้องขออภัยครับ รูปเล็กไปหน่อย)
  3. ตั้ง Boot CD ใน Bios
  4. ใส่แผ่น Hiren's Boot CD แล้วเลือกข้อ 2  Disk Clone Tools
  5. แล้วเลือกข้อ 2 Norton Ghost 11.0.2
  6. แล้วเลือกข้อ 8 Ghost (Normal)
  7. จะเจอกับหน้าตาของโปรแกรม Ghost แล้วกด OK
  8. เราจะทำการ Ghost โดยเริ่มที่ Local และ Partition และ To Image ตามรูปครับ
  9. จะเจอหน้าตาแบบนี้ กด OK ครับ
  10. แล้วเลือก Primary ซึ่งเป็น Drive C: นั่นเองครับ แล้วกด OK
  11. หา Drive ที่จะเก็บ ซึ่งผมจะเก็บไว้ที่ Backup ครับ
  12. แล้วพิมพ์ชื่อ File name ผมพิมพ์ Backup ตามรูปครับ แล้วกด Save
  13. จะได้ดังรูปครับ จะเลือก Fast หรือ High ก็ได้นะครับ(แต่ส่วนใหญ่ผมจะเลือก Fast ครับ)
  14. ตอบ Yes แล้วก็รอจนกว่าจะเสร็จครับ
  15. ถ้าขึ้นแบบนี้ก็ถือว่าเราทำสำเร็จแล้วครับ แล้วเราก็ออกจากโปรแกรม Ghost ได้เลยครับ
    การนำ Ghost กลับมาเพื่อกู้ Windows
  1.  ผมจะสมมุติว่า เครื่องเราโดน virus ดังรูป นะครับ สิ่งที่เราต้องทำก็คือเตรียมแผ่น Hiren's Boot CD แล้วก็ restart ได้เลยครับ
  2.  แล้วก็ทำการเข้าโปรแกรมแกรม Ghost เหมือนเดิมนะครับ
  3. วิธีนำกลับมาให้เราเลือก Local และ Partition และ From Image (ตรงนี้สำคัญนะครับอย่าเลือกผิด)
  4. แล้วเลือก Drive ที่เราเก็บไว้ ในที่นี้ผมเก็บไว้ที่ Backup
  5. แล้วเลือกตัว Ghost ที่เราเก็บไว้
  6. แล้วเลือก Ok
  7. click OK
  8. click OK
  9. click Yes
  10. แล้วก็รอครับ
  11. แค่นี้ก็เสร็จแล้วครับ แล้วเลือก Reset Computer
  12. ปล่อยให้เครื่องเข้าระบบ windows เราจะได้ windows ตัวเดิมกลับมาแล้วครับ
    การนำ windows กลับมานี้ จะไม่รวมไปถึงเอกสารนะครับ เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้วิธีนี้ ควรจะเก็บเอกสารไว้ Drive อื่นเหมือนที่ผมใช้อยู่นะครับยกตัวอย่างเครื่องผม จะแบ่ง Drive ไว้ดังนี้ ใครจะเอาไปใช้ก็ไม่ว่ากันครับ
  • Drive C: เป็นที่เก็บ Windows
  • Drive D: เป็นที่เก็บ ข้อมูลที่สำคัญ
  • Drive E: เป็นที่เก็บหนังและเพลง
  • Drive F: เป็นที่เก็บตัว Ghost

การ Set Bios



การ Ghost เบื้องต้น 

ในส่วนของการ Set BIOS ผมจะสอนแบบเบื้องต้นเพื่อให้Setค่าต่างๆเป็น เพื่อใช้ในการติดตั้ง windows ทั้ง XP และ Vista นะครับ
วิธีการ Set BIOS ก็มีดังนี้
  •  หลังจากเปิดเครื่องให้เราทำการกดปุ่ม  F2 (เครื่องผมเป็น NB ของ ASUS ถ้าเป็นยี่ห้ออื่น อาจจะเป็นปุ่มอื่นนะครับเช่น F8,F10)หรือ Del สำหรับ PC ประกอบทั่วไป ก็จะได้หน้าตา BIOS  ดังรูปครับ(อาจจะไม่เหมือนกันทั้งหมดนะครับเพราะแต่ละรุ่นจะแตกต่างกันออกไป ให้เอาไว้เป็นแนวทางสำหรับคนที่ใช้รุ่นอื่นอยู่นะครับ)


  • ส่วนต่างๆของBios ก็จะมี Main, Advanced, Display, Security, Power, Boot, Exit (ใช้ Key ลูกศรเลื่อนซ้าย ขวา ครับ)
  • Main จะใช้ดูspecเครื่องของเราและใช้ในการปรับแต่งวันที่ เวลาครับ
  • Advanced ที่สำคัญจะอยู่ที่ IDE Configuration เพราะใช้เลือกเพื่อการติดตั้ง XP ครับ
  • Enter ที่ IDE Configuration จะได้ดังรูปครับ ถ้าจะติดตั้ง XP ต้องเปลี่ยนจาก Enhanced เป็น Compatible ครับ
  •  Security เป็นส่วนในความปลอดภัยครับ แต่ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่น่าจะตั้งนะครับเพราะถ้าจำไม่ได้จะต้องรื้อเครื่องเลยนะครับ
  • Boot ตรงนี้เป็นส่วนที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง เพราะใช้ในการตั้ง Boot จากแผ่น CD,DVD เพื่อใช้ในการติดตั้ง Windows นะครับ
  • ให้เลือกตรง Boot Device Priority ครับ จะได้ดังรูป ถ้าต้องการให้ Boot CD/DVD ก็ให้ Enter ที่ 1st Boot Devicec แล้วเลือก CD/DVD ครับ
  • Exit เป็นส่วนของการออกจาก Bios ครับให้เลือก Save Changes and Exit ครับ แต่ช่างส่วนใหญ่จะกดปุ่ม F10 กันจะได้ดังรูปข้างล่างครับ
     





วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์คือ


คอมพิวเตอร์คือ
คอมพิวเตอร์มาจากภาษาลาตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"

คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้





อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware)

เป็นส่วนที่จับต้องได้ ของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่รวมถึงข้อมูล, ระบบการคำนวณ, และซอฟต์แวร์ ที่ป้อนชุดคำสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำการประมวลผล ความจริง ขอบเขตที่แบ่งระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ไม่ได้ชัดเจน เพราะระหว่างกลางอาจจะมีเฟิร์มแวร์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างมาโดยเฉพาะ เพื่อฝังไว้ในฮาร์ดแวร์อยู่ด้วย โดยที่ผู้ใช้ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องกังวลกับเฟิร์มแวร์เหล่านี้ เพราะเป็นส่วนที่โปรแกรมเมอร์ และวิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ดูแล

อุปกรณ์ภายใน


MainBoard_1.jpg
เมนบอร์ด (Mainboard) หมายถึง แผงวงจรหลัก ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย แต่ส่วนที่สำคัญคือ
• ชิปเซ็ต(Chipset) คอยทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์
• บัส (Bus) ที่เป็นเส้นทางเดินของข้อมูล
• สล็อต(Slot) เป็นช่องที่ใช้เสียบการ์ดต่าง ๆ
• ซ็อคเก็ต (Socket) เป็นช่องที่ใช้ติดตั้งซีพียู
• ฯ ล ฯ

ซีพียู (CPU)เป็นส่วนที่เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นที่ติดตั้งอุปกรณ์ภายในของคอมพิวเตอร์ เช่น เมนบอร์ด เพาเวอร์ซัพพลาย ตลอดจนการ์ดต่างๆ เป็นต้น


Cpu_1.jpg

แรม (RAM)เป็นหน่วยความจำหลัก ทำหน้าที่จดจำข้อมูลในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังทำงาน แต่เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลเหล่านั้นก็จะหายไป ดังนั้นหากมีงานใดที่สำคัญต้องการเก็บบันทึกไว้ใช้ในคราวต่อไป จะต้องจัดเก็บหรือบันทึกข้อมูลเหล่านั้น ไว้ใน หน่วยความจำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟลอปปี้ดิสก์ ซีดีรอม เป็นต้น


Ram.jpg


ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นหน่วยความจำรอง ที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไฟล์งานที่ทำจากโปรแกรมต่าง ๆ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์ภาพยนต์ ไฟล์เพลง MP3 เป็นต้น เนื่องจากมีความจุข้อมูล 40-80 กิกะไบต์ ซึ่งถือว่ามากกว่าสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ


Hd.jpgHdd.jpg


ฟลอป ปี้ดิสก์ (Floppy Disk)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและเก็บบันทึกข้อมูลขนาดเล็กที่อยู่ในแผ่นดิสก์ มีความจุข้อมูล 1.44 เมกะไบต์

Fdd.jpg


ซีดีรอม (CD-ROM) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่น ซีดีรอม ไม่ว่าจะเป็นแผ่นซีดีเพลง ซีดีภาพยนต์ ซีดีรูปภาพ ฯลฯ มีความจุข้อมูล 650 - 800 เมกะไบต์


Cd_Rom.jpg

วีจีเอ การ์ด (VGA Card) หรือที่เรียกว่า การ์ดจอภาพ ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณภาพ


card-vga.jpg
ซาวด์ การ์ด (Sound Card) หรือที่เรียกว่า การ์ดเสียง ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณเสียง


Sound.jpg